1. เลือกประเภทความคุ้มครอง
เราควรศึกษาก่อนซื้อว่าความคุ้มครองแบบไหนที่คุณต้องการ
ซึ่งมีทั้งแบบภาคบังคับและภาคสมัครใจ เช่น คุ้มครองทรัพย์สินของบุคคลอื่น
คุ้มครองการซ่อมรถคันที่เอาประกันภัยของคู่กรณี หรือคุ้มครองทั้งสองฝ่าย
คุ้มครองรถหาย-ไฟไหม้ เป็นต้น จากนั้นดูสภาพแวดล้อมของคุณเอง ทั้งอายุของรถ
ลักษณะนิสัยการขับขี่ รวมถึงระยะทางการใช้งาน
สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจได้ว่า
ควรจะซื้อประกันภัยรถยนต์ประเภทไหนดี? ซึ่งความคุ้มครองภาคสมัครใจที่มากกว่าภาคบังคับก็จะเสียค่าเบี้ยประกันที่สูงกว่า
2. อยากได้ราคาเบี้ยถูกลง ต้องเปรียบเทียบก่อนซื้อ
ค่าประกันภัยรถยนต์ของแต่ละบริษัทมักมีราคาต่างกัน
ก่อนซื้อควรเปรียบเทียบอย่างน้อย 3 บริษัท
เริ่มจากความน่าเชื่อถือของบริษัทที่ให้บริการ
ความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อและประสานงาน การให้คำปรึกษาและแก้ปัญหา
รวมถึงอัตราค่าเบี้ยประกันภัยต้องเป็นธรรม
3. ขอส่วนลดจากตัวแทนประกัน
·
ส่วนลดแรกเข้า โดยปกติรถยนต์ที่เคยทำประกันกับบริษัทประกันภัยอื่นมาแล้ว
เมื่อเปลี่ยนบริษัทประกันภัยมักจะได้รับส่วนลดจากบริษัทประกันใหม่
แม้รถจะเคยผ่านการเคลมประกันมาแล้ว
· ส่วนลดจากคอมมิชชั่น เมื่อตัวแทนประกันหรือโบรกเกอร์ต้องการทำยอด บางครั้งก็ให้ส่วนลด มากถึง 30-40% ซึ่งถ้าผู้เอาประกันภัยได้ส่วนลดนี้ ก็จะเป็นเบี้ยประกันภัยที่ถูกที่สุด
4. ประกันกลุ่มถูกกว่า
หากคุณมีรถยนต์มากกว่า 1 คันที่จดทะเบียนชื่อเดียวกัน
การซื้อประกันภัยแบบกลุ่มจะได้รับส่วนลดจากจำนวนรถ นอกจากนี้ บางบริษัทหรือองค์กรขนาดใหญ่จะมีนโยบายทำประกันอยู่แล้ว
หากซื้อประกันผ่านบริษัทนายจ้างก็จะได้ส่วนลดที่ดีจากบริษัทประกันภัย
5. ซ่อมอู่หรือซ่อมศูนย์
ผู้ขับขี่รถยนต์ทราบกันดีอยู่แล้วว่า
เบี้ยประกันในกรณีนำรถไปซ่อมที่ศูนย์รถจะแพงกว่าซ่อมรถที่อู่ หากซ่อมอู่อาจมีเบี้ยประกันที่ต่างกันถึง
10-30%
โดยอาจดูจากลักษณะการใช้รถของคุณว่าจำเป็นหรือไม่ที่ต้องซ่อมศูนย์
เพราะปัจจุบันอู่ซ่อมหลายแห่งมีมาตรฐานค่อนข้างสูงเพื่อให้ทัดเทียมกับศูนย์
จึงช่วยประหยัดเบี้ยประกัน แต่ยังได้การบริการทีมีมาตรฐานที่ดีไม่ต่างกัน
6. รักษาประวัติดีมีส่วนลด
ในแต่ละปีที่ทำประกันรถยนต์ไว้
ถ้าไม่มีการเคลมเลยในปีที่ผ่านมา หรือมีเคลมแต่ไม่ได้เป็นฝ่ายผิด
ก็จะได้รับส่วนลดประวัติดีตามลำดับขั้นของเบี้ยประกันภัยในปีที่ต่ออายุ
แต่หากคุณเป็นฝ่ายผิด ส่วนลดประวัติดีก็จะลดลง เช่น
หากคุณมีประวัติดี ไม่เคยเฉี่ยวชนเลย อาจได้ส่วนลดอยู่ที่ 40% แต่หากเป็นฝ่ายผิด 1 ครั้ง ส่วนลดก็จะลดลงเหลือ 30%
ในทางกลับกัน หากมีประวัติไม่ดีเกี่ยวกับการขับขี่
ค่าประกันภัยก็จะเพิ่มสูงขึ้นจากปกติได้เช่นกัน
7. ระบุชื่อผู้ขับขี่มีส่วนลด
หากรถที่คุณใช้อยู่เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่สามารถระบุชื่อผู้ขับขี่ได้ไม่เกิน
2 คน ในการทำประกันรถนั้น แนะนำว่าควรจะระบุชื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งลงไป
ทั้งนี้แม้จะระบุชื่อคนขับ แต่ก็มีปัจจัยพิจารณาค่าเบี้ยหลายอย่าง เช่น
หากเป็นเจ้าของรถขับเอง
อยู่ในช่วงอายุที่อยู่ในเกณฑ์ความเชี่ยวชาญและมีความรอบคอบตามวัยวุฒิ
ก็จะได้ส่วนลดสูงกว่าการระบุชื่อคนขับที่ไม่ใช่เจ้าของรถ
คนขับที่อายุยังน้อยหรือมือใหม่หัดขับ
8. มีประกันอื่นๆ ร่วมด้วย
ตรวจสอบดูว่าบริษัทประกันภัยรถของคุณเป็นเจ้าเดียวกับที่คุณทำประกันชนิดอื่นๆ
หรือไม่เช่น ประกันที่อยู่อาศัย ประกันอัคคีภัย ประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพ
เพราะบางทีคุณอาจขอส่วนลดเพิ่มได้ในฐานะเป็นลูกค้าเก่า
9. เลือกซื้อรถที่เบี้ยประกันถูกกว่า
ตามหลักการเสี่ยงน้อยจ่ายน้อย
เสี่ยงมากจ่ายมาก อย่างรถอีโค-คาร์ความจุเครื่องยนต์ประมาณ 1,200 ซีซี
ที่ถูกผลิตขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความประหยัด ทั้งราคา การบำรุงรักษา
ค่าเชื้อเพลิง มักจะมีค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ที่ถูกกว่ารถยนต์ประเภทอื่นๆ ดังนั้นการเลือกใช้รถอีโคคาร์จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายได้ทุกรูปแบบ
รวมทั้งค่าเบี้ยประกันรถยนต์ด้วย
10 .ติดตั้งกล้อง CCTV ในรถ
อีกวิธีที่สามารถช่วยลดค่าเบี้ยประกันได้
5-10%
ไม่ว่าคุณจะเป็นลูกค้าเก่าหรือใหม่ รวมถึงประกันชั้นใดก็ทำได้
เพียงแค่มีหลักฐานเป็นรูปถ่ายรถคุณที่ติดกล้องหน้ารถยนต์แล้ว
โดยจะต้องติดตลอดระยะเวลาเอาประกัน ไม่ต้องกังวลเรื่องสเปกกล้อง
แค่บันทึกภาพเคลื่อนไหวได้ และไม่ใช่อุปกรณ์อื่นที่นำมาดัดแปลงให้ใช้งานเหมือนกล้องติดรถยนต์ก็พอ
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงหลักง่ายๆ ที่ช่วยคุณประหยัดเงินค่าประกันภัยรถยนต์ลงได้ ดังนั้นก่อนการเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ อย่าลืมใช้หลักการเหล่านี้ไปประกอบการพิจารณา เพื่อความคุ้มค่าของเงินที่จ่าย และได้ความคุ้มครองที่คุณพึงพอใจสูงสุดด้ว